ช้างศรีลังกา
ช้างศรีลังกา
ช้างศรีลังกา (อังกฤษ: Sri Lankan elephant ชื่อวิทยาศาสตร์: Elephas maximus maximus) เป็นช้างเอเชียชนิดย่อยชนิดหนึ่ง มีถิ่นกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะซีลอน หรือประเทศศรีลังกาในปัจจุบันเท่านั้น
ช้างศรีลังกา ได้ถูกอนุกรมวิธานแยกออกจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ โดยคาโรลัส ลินเนียส นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนเมื่อปี ค.ศ. 1758 โดยถือว่าเป็นชนิดต้นแบบของช้างเอเชียด้วย[2]
ช้างศรีลังกา มีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่โตกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ มีผิวหนังสีคล้ำหรือสีดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว ตัวผู้หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็น ช้างสีดอ คือ ไม่มีงา มีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ยาวไม่พ้นปากหรืออาจยาวพ้นปากเพียงเล็กน้อย มีน้อยตัวที่มีงา ส่วนตัวเมียหรือช้างพังมีลักษณะเหมือนกับช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ คือไม่มีงา มีแต่ขนายเท่านั้น[3]
ช้างศรีลังกา มีความผูกพันกับมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยชาวศรีลังกาเชื่อว่า ด้วยความที่เป็นสัตว์ใหญ่และมีผิวสีคล้ำ จึงเป็นสัญลักษณ์ของเมฆฝน ช้างศรีลังกาจึงใช้ในงานแห่เพื่อขอฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเทศกาลเอสสะลา เพราเฮรา (ඇසළ පෙරහර) หรืองานฉลองพระเขี้ยวแก้วของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทศกาลแห่ไปตามท้องถนนที่ยิ่งใหญ่ของศรีลังกา ช้างศรีลังกาถือเป็นหลักของเทศกาลนี้ ช้างที่ถูกเลือกให้เป็นพาหนะและร่วมไปในขบวนเทศกาลนี้ จะเป็นช้างที่ถูกเลือกคัดสรรเป็นอย่างยิ่ง หากเป็นช้างพลายต้องเป็นช้างที่ไม่อยู่ในอาการตกมัน มี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น